ทฤษฏีลิงกดพิมพ์ดีด Infinite monkey theorem

ทฤษฏีลิงกดพิมพ์ดีด Infinite monkey theoremท

ฤษฏีนี้เกิดจากหลายๆ ทฤษฏีรวมกัน Aristotle’s Metaphysics , Cicero’s De natura deorum ,Blaise Pascal and Jonathan Swift, จนมาเมื่อต้นศตวรรณที่ 20 Émile Borel and Arthur Eddington เริ่มสร้างและอธิบายทฤษฏีนี้อย่างจริงจัง

ทฤษฏีนี้ อธิบายง่ายๆ ก็คือ ถ้าเราให้ลิง 1 ตัว นั่งจิ้มเครื่องพิมพ์ดีดไปเรื่อยๆแบบมั่วๆ (Random) โดยใช้เวลาสักระยะนึงจะเรียกว่าระยะก็ไม่ได้เพราะเขาบอกว่าใช้เวลาประมาณ อายุของจักรภพ(Age of Universe) ซึ่งไออายุของจักรภพนี่เป็นระยะเวลาจากการเกิด Big Bang ครั้งแรก
จนถึงปัจจุบัน ก็จากสมมุติฐาน ประมาณ 13.73 พันล้านปี!!!
ทีนี้ให้ลิงนั่งพิมพ์นานไปแบบนั้นจะได้อะไร? เขาบอกว่า การพิมพ์แบบมั่วซั่ว ไร้ข้อกำหนดนั้น อาจจะเกิดเป็นคำหรือประโยคที่มีความหมาย ไม่ใช่แค่นั้น อาจจะกลายเป็นบทประพันธ์ที่ซับซ้อน
บทหนึ่งของ เชคเปีย ได้เลย เช่น เรื่อง Hamlet เป็นต้น

แล้วเป็นไปได้แค่ไหน?

ทฤษฏีนี้ เรียกว่าได้ว่าเป็นทฏษฏีที่ “Almost Surely” แปลเป็นไทยง่ายๆ คือมีความน่าจะเป็น เท่ากับ 1 คือมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น แต่ไม่เกิดขึ้นทุกครั้ง โอ๊ย งง
ทฤษฏีนี้พิสูจน์ได้ด้วยการคำนวณทางคณิตศาสตร์ กล่าวคือ ถ้าเครื่องพิมพ์ดีดมี 50 ตัวอักษร แล้วเราต้องการให้ลิงพิมพ์คำว่า bananaดังนั้นโอกาสที่ลิงจะพิพม์ b คือ 1/50 แน่นอนว่า ตัวอื่นๆ ก็ 1/50 เช่นกัน
ดังนั้นถ้าฟลุคๆ โอกาสที่ลิงจะพิมพ์ คำว่า banana คือ (1/50) × (1/50) × (1/50) × (1/50) × (1/50) × (1/50) = (1/50)กำลัง 6.แต่ทว่า การพิมพ์แต่ละตัวอักษรไม่มีความเกี่ยวข้องกัน โอกาสที่ลิงจะไม่พิมพ์คำว่า banana ก็จะเป็น 1 − (1/50)กำลัง6

มีอีกหลายคนที่เอาทฤษฏีนี้ไปคิดค้นต่อ เช่น “The Total Library” โดย Jorge Luis Borges
นับว่าเป็นอีกทฤษฏีที่สุดยอดมาก ในความเป็นจริง ลิงไม่สามารถนั่งพิมพ์จนตลอดเวลา 13 พันล้านปีได้

http://en.wikipedia.org/wiki/Infinite_monkey_theorem

Leave a Reply